Koji Mixed Bread Recipe
ส่วนประกอบหลักของเเป้งขนมปังต่างๆ ก็คือกลูเตน(โปรตีนจากข้าว) เมื่อถูกย่อยโดยเอนไซม์จากโคจิก็จะทำให้สี, รสชาติเปลี่ยนแปลง และทำให้มีให้เนื้อสัมผัสที่ต่างกันกับขนมปังทั่วไป
1] โปรตีเอส จะเริ่มจากการย่อยโปรตีนให้เล็กลง กลายเป็นเปปไทด์ และกรดอะมิโน ขั้นแรกเจ้าโปรตีเอสจะไปทำให้กลูเตนอ่อนตัวลง ส่งผลให้แป้งมีความ ‘ยืดหยุ่นมากขึ้น’ ต่อมา เมื่อโปรตีเอสย่อยโปรตีน เปปไทด์ และกรดอะมิโนที่มีรสชาติมากขึ้นจะถูกปล่อยออกมา ซึ่งรวมถึงกลูตามีนที่ให้รสอูมามิ
2] อะไมเลส ซึ่งจะทำหน้าที่ในการย่อยแป้งให้เป็นหน่วยเล็กๆ เรียกว่าเดกซ์ทริน และในที่สุดก็จะย่อยจนกลายเป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยว (แป้งเกิดจากสายโซ่ของโมเลกุลกลูโคส)
จากนั้นยีสต์ซึ่งปกติสามารถบริโภคกลูโคส และโมเลกุลของเดกซ์ทรินสายสั้นได้ จะรวมกับเปปไทด์ และกรดอะมิโน ที่เพิ่งปลดปล่อยออกมาผ่านปฏิกิริยาของเมลลาร์ด และเจ้าความอุดมสมบูรณ์ของกลูโคส และเปปไทด์ (ที่เกิดจากการย่อยของโคจิ) จำทำให้ขนมปังของเราเกิดสีน้ำตาลเข้ม และมีรสชาติที่ล้ำลึก มากกว่าแป้งที่ไม่มีเอนไซม์เหล่านี้
และนี้คือการทดลองทำขนมปัง ที่ใช้ส่วนผสมที่เเตกต่างกัน เราเตรียมแป้งโด และแบ่งแป้งออกเป็นสองส่วน (ก่อนขั้นตอนการหมัก) เราเพิ่มโคจิในเเป้งครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งก็คือส่วนผสมหลักปกติในการทำขนมปัง
(ขนมปังฝั่งซ้ายไม่มีโคจิผสม ส่วนด้านขวาคือขนมปังที่ผสมโคจิก่อนขั้นตอนการหมัก)
เราสามารถเห็นความเเตกต่างได้ชัดเจน นอกจากสีสันเเล้ว เนื้อสัมผัสขนมปังจะเเน่นกว่า เวลาฉีกขนมปังออกมาก็จะได้กลิ่นคล้ายเชดเดอร์ชีส เมื่อลองชิมเเล้วก็จะได้ปลายรสสัมผัสที่เหมือนชีสอีกด้วย ขนมปังด้านในจะไม่มีความเเห้ง อาจเป็นเพราะโมเลกุลของเเป้งที่คายน้ำออกมาระหว่างกระบวนการย่อย
(ขนมปังฝั่งซ้ายไม่มีโคจิผสม ส่วนด้านขวาคือขนมปังที่ผสมโคจิก่อนขั้นตอนการหมัก)
เราสามารถเห็นความเเตกต่างได้ชัดเจน นอกจากสีสันเเล้ว เนื้อสัมผัสขนมปังจะเเน่นกว่า เวลาฉีกขนมปังออกมาก็จะได้กลิ่นคล้ายเชดเดอร์ชีส เมื่อลองชิมเเล้วก็จะได้ปลายรสสัมผัสที่เหมือนชีสอีกด้วย ขนมปังด้านในจะไม่มีความเเห้ง อาจเป็นเพราะโมเลกุลของเเป้งที่คายน้ำออกมาระหว่างกระบวนการย่อย
วิธีการทำ starter หรือการเลี้ยงยีสต์พื้นฐาน
1. แป้ง
2. น้ำเปล่า
– นำแป้ง 1 ส่วน น้ำอีก 1 ส่วน มาใส่โหล คนให้เข้ากัน ปิดฝาไว้ในอุณภูมิห้อง (แล้วเปิดมาคนวันล่ะ 3 รอบ) ทำแบบนี้วนไป 2 วัน
– วันที่ 3 จะเริ่มเห็นฟองอากาศเล็กๆ ให้ตักออกครึ่งหนึ่ง (เหลือครึ่งหนึ่ง ให้เติมโคจิหรือ กากอามาซากเกะ 100 กรัม น้ำอีก 100 กรัม) คนให้เขากันปิดฝาทิ้งไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์หัวเชื้อของเราเป็นอันเสร็จสมบูรณ์
หากต้องการจะใช้ยีสต์ในการทำขนมปัง ในเราเตรียมยีสต์ตอนเช้า ตักออกแล้วเติมอาหารให้เขาในตอนเช้า ผ่านไป 2-4 ชั่วโมงถ้าหากเขาแข็งแรงพอเขาก็จะฟูกลับไปเต็มขวดเหมือนเดิม ให้ตักเขาออกมาผสมกับแป้งที่เราต้องการจะหมักขนมปังได้เลย
*ปกติถ้าหากเวลาที่เชื้อแข็งแรง เวลาตักออกครึ่งนึงแล้วเติมแป้ง ผ่านไปแค่ 2-4 ชั่วโมง เขาก็จะกลับมาเต็มขวดเหมือนเดิม
*การเลี้ยงยีสต์ก็คือการเลี้ยงสิ่งมีชีวิต เราจึงต้องดูแลเขาทุกวัน ถ้าหากเขาแข็งแรงดีแล้วเราสามารถให้อาหารเขาทุกๆ 3 วันได้ครับ โดยระหว่างนั้นให้เก็บรักษาเขาในตู้เย็นได้
สูตรเกลือโคจิ
1. ข้าวโคจิ 250 กรัม
2. เกลือ 30 กรัม (เกลือทะเล ดอกเกลือ เกลือหิมาลัย จะให้รสชาติแตกต่างกัน)
3. น้ำอุ่น 250 ml
ขั้นตอน
1) ละลายน้ำกับเกลือ แบบพอดี (สังเกตุดูว่าให้ข้น แต่ไม่เหลว)
2) ใส่โคจิ 250 กรัม ลงในถ้วยผสม
3) ผสมให้เข้ากัน
4) เทส่วนผสมทั้งหมดลงให้โหล ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ในอุณภูมิห้องประมาณ 7 วัน(แต่มาเปิดฝา แล้วใช้ตะเกียบ หรือช้อนคนให้เข้ากันทุกวัน)
5) หลังจากครบ 7 วัน เราก็จะได้ Shio Koji ที่มีกลิ่นหอมเหมือนเชด้าชีส มีเอนไซม์ และรสชาติหวานปนอูมามิติดปลายล้ิน ที่พร้อมนำมาปรุงอาหารหลากหลาย
6) วิธีเก็บรักษา Shio Koji ไว้ในตู้เย็นได้ถึง 1 ปีครับ *ติดตามสูตร และวิธีการปรุงอาหารแบบฉบับพี่เยา ได้ในคลิปต่อไป
สูตรปลาย่างหมักเกลือโคจิ
1) ปลา 1 ตัว (ปลามง หรือปลาที่ชอบ)
2) Shio Koji 2 ช้อนโต๊ะ
3) เลมอน
ขั้นตอนการทำ
1) นำปลาที่เตรียมไว้ (เมนูนี้เราใช้ปลามง) มาแล่เป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการ
2) คลุกเคล้า Shio Koji ให้ทั่วเนื้อปลา อัตราส่วนปลาครึ่งตัว ต่อ 1 ช้อนโต๊ะ
3) เก็บใส่ถุงซิป หมักทิ้งไว้ในตู้เย็นประมาณ 3 ชั่วโมง
4) นำปลาที่หมักเสร็จแล้วไปย่างด้วยไฟอ่อนๆ 5) ขูดผิวเลมอนเล็กน้อยลงบนเนื้อปลาที่ย่างเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความหอม
สูตร Sakadane Shokupan โชกุปังยีสต์ธรรมชาติ จากหัวเชื้อข้าว Koji
แป้ง Nippn Golden Yacht 250 กรัม
Yudane 50 กรัม
ยีสต์ข้าว 40 กรัม
เกลือ 4.3 กรัม
น้ำตาล 25 กรัม
วิปปิ้งครีมแท้ 65 กรัม
นม 90-95 กรัม
เนยจืด 15 กรัม
– ผสมส่วนผสมทุกอย่างยกเว้น yudane และเนยค่อยๆนวดจนแป้งจับตัวเป็นก้อน ทยอยใส่ของเหลวที่เหลือจนหมด หลังจากนวด8-10 นาทีเติม yudane
– นวดความเร็วต่ำจนโดว์ที่นวดเนียนราวๆ70% ทยอยเติมเนย
นวดแล้วนวดต่อด้วยความเร็วปานกลางจนขึงฟิล์มได้
– หลังจากนวดเสร็จพักที่อุณหภูมิห้องประมาณ 1 ชั่วโมง และนำเข้าพักตู้เย็น 1 คืน ก่อนนำมาขึ้นรูป และพักแป้งรอบ 2 ประมาณ 3 ชั่วโมง
(แอดมินเคย ทดลองพักแป้งรอบแรก 1 ชั่วโมงแล้วขึ้นรูป พักรอบ 2 ประมาณ 3-3.5 ชั่วโมงก็พร้อมอบ)
– ตัดโดว์ 270×2 ก้อน พิมพ์ sanneng อบไฟ 180 องศา 35-37 นาที
สูตรหมักเนื้อด้วยโคจิ
2. นำเนื้อขนาดที่ต้องการ คลุกเคล้าเข้ากับผงโคจิให้ทั่ว
3. วางเนื้อลงบนถาดที่มีตะเเกรงอยู่ด้านบน เพื่อเพิ่มพื้นที่อากาศถ่ายเทให้เนื้อหมักโคจิของเรา เเละให้โคจิได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ
4. เเช่เนื้อหมักโคจิไว้ในตู้เย็นเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ซึ่งหลังจากผ่านไป 12 ชั่วโมงเเล้ว ระหว่างกระบวนการย่อยโดยเอนไซม์ เนื้อที่บ่มไว้จะมีหน้าตาเหมือนกับเนื้อที่มีหิมะเกาะอยู่
(เมื่อครบ 48 ชั่วโมงเเล้ว เนื้อด้านนอกจะเเน่น เเห้ง เเละเเข็งขึ้น)
5. ใช้ด้านหลังของมีด ขูดโคจิออกให้หมด ส่วนเนื้อที่บ่มไว้ ด้านในจะเเห้งเเละมีสีเเดงคล้ำ เหมือนกับผ่านการบ่มเนื้อเเบบเเห้ง (Dry-Aged) มาหลายวัน
6. ล้างโคจิที่เหลืออยู่ออกให้หมด ด้วยน้ำเย็น
7. ตั้งเตาย่างเนื้อ จนขอบด้านนอกทั้งสองฝั่งสุกเเละมีสีน้ำตาลเข้ม ระมัดระวังไม่ให้ไหม้เกินจนไป เพราะเนื้อที่บ่มด้วยโคจิจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าเนื้อสดทั่วๆไป
8. ปรุงรสชาติด้วยเกลือเเละพริกไทย
9. นำเนื้อเสต็กออกจากเตา เเล้วพักไว้ 10 นาที นำมาหั่นเป็นชิ้นๆ เนื้อเสต็กโคจิก็พร้อมเสิร์ฟ