ย้อนการเดินทางของเศษข้าวหักที่ไม่มีใครเหลียวแล สู่สุดยอดวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการหมัก และให้รสชาติอูมามิ

ย้อนกลับไปในช่วงที่โควิดกำลังระบาดหนัก หลายคนตกงาน และหลายคนตกอยู่ในความหิวโหย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นไม่เลือกพื้นที่โดยเฉพาะในค่ายผู้อพยพคนชายขอบไร้รัฐซึ่งประสบปัญหาภาวะ #ขาดแคลนอาหาร อย่างหนัก
.
พอดีทางกลุ่ม Shan State Refugee Committee ติดต่อมาหากับทีม “#ครัวกลาง” ว่าชาวบ้านอยากได้ข้าวหัก ข้าวท่อน ที่ขายไม่ได้ราคามาประทังความหิวโหย ทางทีมเห็นความเดือดร้อนจากชาวบ้านดังนั้น จึงระดมทุนจัดหามาได้ในราคาถูก นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทยในเวลาต่อมา
.
หนึ่งในนั้นคือผลิตภัณฑ์ #โคจิ เริ่มแรกเรายังใช้ข้าว ก.วก.2 เชียงราย (ซึ่งเป็นสายพันธุ์ผสมลูกครึ่งญี่ปุ่น) ในการเพาะเชื้อรา Aspergillus Osyzae ลงไปซึ่งเชื้อแข็งแรงเติบโตได้ดีมาก ทีนี้เราจึงทดลองกับข้าวไทยพื้นบ้านดูบ้าง จึงได้เริ่มต้นลงมือเพาะเชื้อราลงบน #ข้าวไทย ซึ่งผลที่ได้ออกมาก็ไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจนักเนื่องจากตัวเชื้อรามักจะโตแบบไม่เต็มเมล็ด เวลานำมาใช้ในกระบวนหมักจึงทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ รสชาติไม่ค่อยนิ่ง
.
ทางเราได้พยายามค้นหาวิธีเพาะเชื้อให้เติบโตได้ดีบนเมล็ดข้าวไทยมากกว่า 2 ปี จนในที่สุดเราก็ทำสำเร็จ โดยได้รับความช่วยเหลือจากทีมวิจัยจากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ #มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตประสานมิตร ซึ่งพบว่าเชื้อเติบโตได้ดีบนข้าวท่อน #ข้าวขาวดอกมะลิ นี่จึงเป็นความสำเร็จที่น่าประทับใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการบ่งบอกว่าโคจิจากข้าวไทยพื้นบ้าน #สัญชาติไทย ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว และมีประสิทธิภาพในการใช้งานไม่แพ้บนเมล็ดข้าวญี่ปุ่นเลย
.
ความสำเร็จนี้ไม่เพียงแต่ทุกท่านเท่านั้นที่ได้ใช้ #ผลิตภัณฑ์จากคนไทยเอง แต่เรายังช่วยสร้างคุณค่าให้ #เกษตรกรชาวนา ผู้ปลูกอยู่ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย เมื่อเกษตรกรอยู่ได้ ชุมชนก็จะอยู่ได้ส่งผลให้ท้องถิ่นเกิดการพัฒนาซึ่งจะช่วยสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวมต่อไปในอนาคตครับ
.
🌾 สนใจสั่งซื้อข้าว Koji จากข้าวท่อนหอมมะลิไทย
🔻 250 กรัม 140 บาท
🔻 1 กิโลกรัม 490 บาท

Date:

มีนาคม 12, 2024

Categories:

,