Trends
โพรไบโอติกส์ควรเติมเข้าไปแต่พอดี หากมากไปอาจกลับมาทำร้ายสุขภาพ
มีหลายคนเชื่อว่ายิ่งเติมโพรไบโอติกส์เข้าสู่ร่างกายมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีต่อสุขภาพมากเท่านั้น ใครกำลังมีพฤติกรรมแบบนี้อยู่เลิกด่วนเลยนะครับก่อนส่งผลเสียต่อสุขภาพ . โดยการมีจำนวนจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ในร่างกายเป็นจำนวนมากนั้นจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้ เช่น... - ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ จนอาจส่งผลให้เกิดภาวะท้องอืดหรือแน่นท้องได้ - มีอาการผื่นคันตามผิวหนัง - เกิดอาการปวดหัวจากสารเอมีน - ร่างกายมีการต้านยาปฎิชีวนะ - เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ . แล้วแบบนี้ต้องมีเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าพอดี? . ร่างกายของคนเราควรจะมีปริมาณโพรไบโอติกส์ไม่เกิน 10-20 พันล้านตัวต่อวันนะครับ หรืออย่างต่ำควรอยู่ที่ 10,000 ล้าน CFU คำว่า CFU นี้หมายถึงหน่วยที่ใช้ตรวจปริมาณจุลินทรีย์ที่อยู่ในสินค้าและอาหารนั่นเอง . อีกอย่างหนึ่งที่จะแนะนำเลยก็คือไม่ควรทานหรือดื่มโพรไบโอติกส์ร่วมกับมื้ออาหาร เพราะเมื่อโพรไบโอติกส์ลงไปในระบบทางเดินอาหารมันจะไปเกาะกับอาหารแทนที่จะไปเกาะที่ผนังในลำไส้ ซึ่งทำให้เราจะไม่ได้รับประโยชน์จากโพรไบโอติกส์ที่กินเข้าไปเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นควรกินและดื่มโพรไบโอติกส์ตอนท้องว่างหรือก่อนนอนจะดีที่สุดนะครับ . และจะดีต่อระบบลำไส้ยิ่งขึ้นไปอีก หากทานโพรไบโอติกส์ร่วมกับพรีไบโอติกส์ โดยสองอย่างนี้หากมารวมกันแล้วจะช่วยทำให้ลำไส้ของเราสมดุลและมีสุขภาพดี ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น . ซึ่งเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าโพรไบโอติกส์นั้นสามารถหาได้จากไหน ไม่ว่าจะเป็น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ซุปมิโสะ แล้วพรีไบโอติกส์ล่ะจะหาได้จากไหน ? . ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนไกลเลยครับ หาได้จาก Yorice Amazake นี่เอง เพราะเขาขึ้นชื่อว่าเป็น Prebiotics Drink ที่ผลิตมาจากน้ำข้าวพื้นบ้านของไทยผสมกับข้าวโคจิ รสชาติหวาน หอม นุ่มละมุน
Trends
ย้อนการเดินทางของเศษข้าวหักที่ไม่มีใครเหลียวแล สู่สุดยอดวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการหมัก และให้รสชาติอูมามิ
ย้อนกลับไปในช่วงที่โควิดกำลังระบาดหนัก หลายคนตกงาน และหลายคนตกอยู่ในความหิวโหย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นไม่เลือกพื้นที่โดยเฉพาะในค่ายผู้อพยพคนชายขอบไร้รัฐซึ่งประสบปัญหาภาวะ #ขาดแคลนอาหาร อย่างหนัก . พอดีทางกลุ่ม Shan State Refugee Committee
Trends
มหัศจรรย์โคจิ เปลี่ยนกากกาแฟที่ถูกทิ้ง ให้เป็นคอฟฟี่บาร์แสนอร่อย
ทุกวันมีประชากรทั่วโลกดื่มกาแฟกันประมาณ 10 พันล้านกิโลกรัมต่อปี ทำให้มีขยะจากการผลิตเป็นจำนวนมากออกมา หนึ่งในนั้นคือกากกาแฟ เรารู้กันดีอยู่แล้วว่ากากกาแฟเหล่านี้ได้ถูกรีไซเคิลมาอยู่ตลอดเพื่อลดปัญหา Food waste ทั้งเครื่องสำอาง ถ้วยชาม หรือแม้แต่เชื้อเพลิงจากธรรมชาติก็ถูก Reuse จากกากกาแฟด้วยเช่นกัน . อย่างไรก็ตามแม้การรีไซเคิลเหล่านี้จะดูเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหนก็ตาม แต่แท้จริงแล้วกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะในกากกาแฟก่อนนำไปรีไซเคิลเพื่อนำไปทำสิ่งของต่างๆ นั้น ก่อนอื่นต้องเอาของเหลวและความชื้นออกให้หมดก่อน ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้นี่เองที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยไม่รู้ตัว . ปัญหานี้เองจึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า Tetsuji Ishigaki CEO ของบริษัท SOI จากเมือง Shizuoka ผุดไอเดียเจ๋งๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากการรีไซเคิลกากกาแฟด้วยวิธีการให้มันกินได้ซะเลย โดยเขาและทีมงานได้รวบรวมกากแฟกาแฟที่เหลือใช้จากร้านกาแฟในท้องถิ่นนำมาหมักกับโคจิ ใช่เลยครับโคจิ (Koji) ที่เรารู้จักกันดีที่ขึ้นชื่อว่าเป็น "เชื้อราแห่งชาติญี่ปุ่น" จนเกิดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แสนอร่อยอย่าง "คอฟฟี่บาร์ (Coffee bars)" ในชื่อแบรนด์ว่า COLEHA . คอฟฟี่บาร์ใช้กระบวนการทำคล้ายๆ กับช็อคโกแลตบาร์ แต่ที่พิเศษกว่าคือ COLEHA
Trends
ปฏิวัติวงการกาแฟ สร้างมิติใหม่ของรสชาติด้วยกระบวนการ Koji-Fermented Coffee
เป็นที่ฮือฮาในวงการกาแฟเป็นอย่างมาก ถึงกับที่ว่าสามารถปฏิวัติวงการกาแฟได้เลยทีเดียวเพราะล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการค้นพบโพรเซสกาแฟแบบใหม่ด้วยวิธีการธรรมชาติ จากแบบเดิมที่เราคุ้นเคยกันดีคือการใช้เทคนิคเดียวกันกับการหมักไวน์ที่เรียกว่าเทคนิค Carbonic Maceration โดยผู้คิดค้นวิธีนี้เป็นคนแรกคือ Sasa Sestic ซึ่งเป็นการอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปแทนที่ก๊าซออกซิเจนที่อยู่ภายในถังหมักลูกเชอร์รีของกาแฟ . ส่วนเทคนิคใหม่นี้ถูกคิดค้นโดยชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า Koichi Higuchi เขาเป็นประธานบริษัท Higuchi Matsunosuke Shoten ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านโคจิและเป็นผู้ผลิต Koji starter รายใหญ่ของญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน สำหรับเขาถือเป็นเจเนอเรชั่นรุ่นที่ 7 เข้าไปแล้ว . จุดเริ่มต้นทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาจากที่เขาได้ลองดื่มกาแฟขี้ชะมดและสงสัยว่าทำไมกาแฟถึงมีรสชาติขมน้อยลงรวมถึงมีกลิ่นหอมที่มากขึ้น จนในที่สุดก็พบว่ามันเกิดจากปฏิกริยาทางเคมีในกระเพาะของอีเห็นข้างลายที่ย่อยสลายโครงสร้างของโปรตีนให้เปลี่ยนไป เขาจึงคิดว่าหากนำมาทำแบบกระบวนการทำในอาหารก็น่าจะให้ผลเช่นเดียวกัน จึงทดลองนำโคจิไปบดละเอียดแล้วโปรยลงบนสารกาแฟ (green bean) ให้คล้ายกับว่าเป็นการย่อยสลายปฏิกริยาทางเคมีในกระเพาะของอีเห็นข้างลาย ผ่านไป 2-3 วัน เขานำสารกาแฟมาทดสอบดูพบว่า โปรตีนถูกย่อยสลายให้กลายเป็นกรดอะมิโนและเพิ่มขึ้นมากถึง 3 เท่า นั่นจึงแสดงให้เห็นว่าโคจิเข้าไปเปลี่ยนโครงสร้างของตัวสารกาแฟแล้ว หลังจากนั้นเขาก็นำไปทดลองกับการคั่วดูซึ่งก็พบว่าเมล็ดกาแฟที่คั่วเข้มนั้นมีรสชาติที่นุ่มละมุนกว่า ส่วนเมล็ดที่นำไปคั่วอ่อนนั้นกลับให้รสชาติที่เปรี้ยวสะอาดกว่าเดิมมาก . หลังจากนั้นไม่นานวิธีโพรเซสกาแฟด้วยโคจิของเขาก็ถูกพูดถึงเป็นวงกว้างและเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างมากถึงขั้นข้ามทวีปไปถึงสหรัฐอเมริกาและโคลอมเบียกันเลยทีเดียว หนึ่งในนั้นคือไร่กาแฟระดับไฮเอนด์ในโคลอมเบียที่มีชื่อว่า "เอล เวอร์เจล เอสเตทส์"
Trends
ความภูมิใจของคนไทย ความภูมิใจของเรา ข้าวโคจิ จากข้าวหอมมะลิไทย
‘คงน่าเสียดายมาก’ ข้าวหัก ข้าวไม่สวย ขายไม่ได้ราคา แม้แต่เกษตรกรเอง บางครั้งก็จำเป็นต้องนำไปเป็นอาหารสัตว์ . Yorice #เห็นคุณค่าของข้าวหักมากกว่านั้น จึงช่วยกันหาวิธี Read More
Trends
รวมข้าวเกษตรกรพื้นถิ่น ปลอดสาร ปลอดภัย ใส่ใจตั้งแต่การปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว
มั่นใจได้แค่ไหน ว่าข้าวที่เราทานอยู่ทุกวันดีต่อเราและสิ่งแวดล้อมจริงๆ . Yorice รวมมาให้แล้วข้าวจากเกษตรกรพื้นถิ่น ที่ใส่ใจตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกเมล็ด การปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ข้าวคุณภาพที่ปลอดภัย ปลอดสาร รวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง . ผลผลิตที่ได้ออกมาจึงมีค่าดัชนีทางโภชนาการที่สูง บำรุงสุขภาพ มีรสสัมผัสที่นุ่มสดใหม่ และในอีกทางหนึ่งยังช่วยเสริมสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรท้องถิ่นอีกด้วย . ข้าวจากเกษตรกรชุมชนท้องถิ่นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ? - ข้าวญี่ปุ่นออร์แกนิก - ข้าวสินเหล็ก - ข้าว กข43 - ข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์ - ข้าวดอยบือซอมี - ข้าวมะลินิลสุรินทร์ - ข้าวไรซ์เบอร์รี่ - ข้าวสามกษัตริย์ (ข้าวสินเหล็ก/ข้าวหอมมะลิแดง/ข้าวมะลินิลสุรินทร์) . เลือกทานข้าวทั้งที เลือกสิ่งดีๆ เพื่อคนในครอบครัวและคนที่คุณรัก เลือกข้าวจากกลุ่มเกษตรกรชุมชนท้องถิ่น
Trends
ข้าวดอย บือซอมี ที่หนึ่งปีปลูกได้แค่หนึ่งครั้ง
Trends
ข้าวสินเหล็ก สุดยอดข้าวไทย ธาตุเหล็กสูง
เคยได้ยินคำว่า "กินอาหารเป็นยา" ไหมครับ รู้หรือไม่ครับว่า ข้าวที่เราทานกันทุกมื้อก็ถือว่าเป็นยารักษาสุขภาพได้แต่เราต้องเลือกกินให้เป็น . ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจเมื่อไม่นานมานี้จากผลสำรวจของข้อมูลสหพันธ์เบาหวานนานาชาติในปี 2560 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง 425 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2588 จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 629 ล้านคน . คนไทยก็เป็นหนึ่งในจำนวนผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานกันเป็นจำนวนมาก #เนื่องจากเราติดหวานและกินข้าวเป็นหลัก
Trends
สูตรหมักเนื้อด้วยโคจิ
Trends
สูตร Sakadane Shokupan โชกุปังยีสต์ธรรมชาติ จากหัวเชื้อข้าว Koji